Home Featured สมัครเฟสบุ๊คใหม่ (Facebook) ต้องทำยังไง? อธิบายอย่างละเอียดพร้อมคู่มือใช้งาน
สมัครเฟสบุ๊ค

สมัครเฟสบุ๊คใหม่ (Facebook) ต้องทำยังไง? อธิบายอย่างละเอียดพร้อมคู่มือใช้งาน

by whatshouldido
2,981 views

Facebook ถือเป็นอีกหนึ่งแอปพลิเคชันที่บางคนอาจมีกันหลายแอคเค้าท์ ด้วยความจำเป็นในเรื่องงานหรือเรื่องส่วนตัวจนทำให้ต้องสมัครเฟสใหม่ หรือใครที่เพิ่งจะสมัครเป็นครั้งแรก บทความนี้ What Should I Do? จะมาแนะนำขั้นตอน สมัครเฟสบุ๊ค อย่างละเอียด สามารถทำตามได้ง่าย ๆ และเรายังสอนวิธีเล่นเฟสบุ๊คสำหรับมือใหม่ไว้อีกด้วย ตั้งแต่เรื่องการเปลี่ยนรูปโปรไฟล์ การเพิ่มเพื่อน การโพสต์ การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว พร้อมทั้งแนะนำคำศัพท์เบื้องต้นที่ควรรู้เพื่อการใช้งานได้อย่างที่ต้องการ

ใครจะสมัคร Facebook ใหม่เพราะลืมรหัสผ่าน อาจลองแก้ปัญหาการ ลืมรหัสผ่าน ดูก่อนก็ได้ครับ เผื่อคุณจะได้ไม่ต้องสมัครเฟสใหม่อีก

 

ขั้นตอนสมัครเฟสบุ๊ค บนโทรศัพท์มือถือ 

(ตัวอย่างการสมัครเฟสบุ๊คใหม่บนโทรศัพท์มือถือ ด้วยการใช้เบอร์โทรศัพท์)

ขั้นตอนที่ 1: การสมัครเฟสบุ๊ค ให้เข้าแอปกด Create New Account -> จะขึ้น Join Facebook กด Get Started

สมัครเฟสบุ๊ค

 

ขั้นตอนที่ 2: การกรอกรายละเอียดส่วนตัว

  • ที่หน้า What’s Your Name? ให้พิมพ์ ชื่อ (First name) นามสกุล (Last name) เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ และจะเป็นชื่อจริงหรือนามแผงก็ได้เช่นกัน *แต่ควรเป็นชื่อที่เพื่อนหรือผู้อื่นสามารถรู้และเข้าใจได้ว่าเป็นตัวคุณ
  • ที่หน้า When’s Your Birthday? ให้เลื่อนเพื่อเลือกวันเดือนปีเกิดของคุณ Day วันที่ / Month เดือน /Year ปีเกิด จากนั้นกด Continue
  • ที่หน้า What’s Your Gender? ให้เลือกเพศของคุณ Female = ผู้หญิง / Male = ผู้ชาย / Custom = กำหนดเอง จากนั้นกด Next

สมัครเฟสบุ๊ค

 

ขั้นตอนที่ 3: การสมัครเฟสบุ๊คด้วยเบอร์โทรศัพท์และการตั้งรหัสผ่าน

  • ที่หน้า What’s Your Mobile Number? ให้พิมพ์เบอร์โทรศัพท์มือถือของคุณ (ควรเป็นเบอร์ที่สามารถรับข้อความทางโทรศัพท์ได้) ในขั้นตอนนี้หากคุณต้องการสมัครเฟสบุ๊คด้วยอีเมลให้เลือก Use your email address
  • ที่หน้า Create a Password ตั้งรหัสผ่านที่คุณจำได้ *และควรเป็นรหัสผ่านที่ยากต่อการคาดเดา เพื่อความปลอดภัยของ Facebook คุณ (รหัสผ่านที่ดีควรมีทั้งตัวตัวเลขและตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ ตัวพิมพ์เล็ก)

สมัครเฟสบุ๊ค

 

ขั้นตอนที่ 4: ระบบจะขึ้นว่า Finish Signing Up หรือการสมัครเสร็จสิ้นแล้ว กด Sign Up ระบบจะส่งรหัสยืนยัน (FB-OTP) ไปยังข้อความโทรศัพท์ตามเบอร์ที่คุณพิมพ์ไปก่อนหน้า ให้นำรหัสยืนยันที่ได้รับกรอกลงในช่องว่าง จากนั้นกด Submit

สมัครเฟสบุ๊ค

 

ขั้นตอนที่ 5: การใส่รูปโปรไฟล์และค้นหาเพื่อน

  • ที่หน้า Add Your Photo ให้ใส่รูปโปรไฟล์ *ควรใส่รูปถ่ายตัวคุณเอง เพื่อที่เพื่อนหรือผู้อื่นจะได้รู้ว่านี่คือเฟสบุ๊คของคุณ กด Choose From Camera Roll เพื่อเลือกรูปภาพจากในโทรศัพท์มือถือ
  • ที่หน้า Find Friends ระบบจะแจ้งว่า คุณสามารถค้นหาเพื่อนที่เล่นเฟสบุ๊คเหมือนกันจากเบอร์โทรศัพท์ที่อยู่ในมือถือของคุณ หากต้องการกด OK หากไม่ต้องการกด Not Now (เรากด Not Now)

*คุณสามารถข้ามทั้งสองขั้นตอนนี้ไปเลยก็ได้เพียงกด Skip ตรงมุมบนขวามือ (สามารถตั้งค่าในภายหลังได้)

สมัครเฟสบุ๊ค

 

เมื่อสมัครเฟสบุ๊คบนโทรศัพท์มือถือเสร็จเรียบร้อยแล้ว ระบบจะแสดงผลหน้าจอตามรูปด้านล่างนี้เลยครับ

สมัครเฟสบุ๊ค

 


สมัคร Facebook บนคอมพิวเตอร์ 

(ตัวอย่างการสมัคร Facebook ใหม่บนคอมพิวเตอร์ ด้วยการใช้ Gmail)

ใครที่ยังไม่มีอีเมลของ Gmail แนะนำบทความนี้เลยครับ  สมัคร GMAIL นอกจากวิธีการสมัครอย่างละเอียด ยังบอกข้อดีของการใช้ Gmail อีกด้วย

ขั้นตอนที่ 1: สมัคร Facebook คลิกลิงก์นี้เพื่อเข้าเว็บ Facebook.com จากนั้นคลิก สร้างบัญชีใหม่ หรือ Create New Account 

*สามารถเลือกเปลี่ยนภาษาได้ที่แถบด้านล่าง (ผมเลือกเปลี่ยนเป็นภาษาไทย)

สมัคร Facebook

ขั้นตอนที่ 2: ที่หน้า สมัคร ให้กรอกรายละเอียดส่วนตัวต่าง ๆ ดังนี้

  • ชื่อ นามสกุลพิมพ์ ชื่อ (First name) นามสกุล (Last name) เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ และจะเป็นชื่อจริงหรือนามแผงก็ได้เช่นกัน *แต่ควรเป็นชื่อที่เพื่อนหรือผู้อื่นสามารถรู้และเข้าใจได้ว่าเป็นตัวคุณ
  • หมายเลขโทรศัพท์มือถือหรืออีเมลตัวอย่างนี้ ผมสมัครเฟสบุ๊คใหม่ด้วยด้วยการใช้อีเมลของ Gmail
  • รหัสผ่านใหม่ – ตั้งรหัสผ่านที่คุณจำได้ *และควรเป็นรหัสผ่านที่ยากต่อการคาดเดา เพื่อความปลอดภัยของ Facebook คุณ
  • วันเกิด – เลื่อนเพื่อเลือกวันเดือนปีเกิดของคุณ Day วันที่ / Month เดือน /Year ปีเกิด (วันเกิดที่เราระบุไป ระบบจะแจ้งเตือนให้เพื่อนใน Facebook ของคุณทราบเมื่อถึงวันนั้นด้วย)
  • เพศ – เลือกเพศของคุณ Female = ผู้หญิง / Male = ผู้ชาย / Custom = กำหนดเอง

เมื่อกรอกรายละเอียดเรียบร้อยแล้ว คลิก สมัคร

สมัคร Facebook

ขั้นตอนที่ 3: ยืนยันการสมัครเฟสบุ๊ค ระบบจะส่งรหัสยืนยันไปยังอีเมลที่กรอกไปข้างต้น ให้นำรหัสไปกรอกให้เรียบร้อย คลิก Continue หรือจะคลิก Confirm Your Account ในอีเมลเลยก็ได้เช่นกัน 

สมัคร Facebookเมื่อสมัครเฟสบุ๊คบนคอมพิวเตอร์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ระบบจะแสดงผลหน้าจอตามรูปด้านล่างนี้เลยครับสมัคร Facebook

คู่มือการใช้งานเฟสบุ๊คเบื้องต้น อัพเดท 2022

1.การเปลี่ยนรูปโปรไฟล์เฟสบุ๊คและรูป Cover

การเปลี่ยนรูปโปรไฟล์เฟสบุ๊ค -> ที่หน้าโปรไฟล์เฟสบุ๊คของคุณ ตรงวงกลมที่เป็นรูปคนให้ กดไอคอนกล้องถ่ายรูป -> เลือกรูปจากในโทรศัพท์หรือคอมพิวเตอร์ของคุณ (หากเป็นโทรศัพท์ แนะนำขนาด 720 x 720 px)

การเปลี่ยนรูป Cover เฟสบุ๊ค -> ที่หน้าโปรไฟล์เฟสบุ๊คของคุณ ตรงพื้นที่เหนือรูปโปรไฟล์ กด Add Cover Photo -> เลือกรูปจากในโทรศัพท์หรือคอมพิวเตอร์ของคุณ (หากเป็นโทรศัพท์ แนะนำขนาด 560 x 312 px)


2.การโพสต์และการแก้ไขโพสต์

การโพสต์เฟสบุ๊ค -> กดตรงคำว่า What’s on your mind? หรือ คุณคิดอะไรอยู่? -> พิมพ์ข้อความที่ต้องการจะโพสต์ -> กด POST 

แต่การโพสต์เฟสบุ๊คยังมีฟังก์ชั่นให้เลือกใช้อีกมากมาย ที่ใช้กันบ่อย ๆ มีดังนี้

  • Photo / Video: การโพสต์รูปภาพหรือวีดีโอ โดยอัตราส่วนของขนาดภาพที่แนะนำคือ 1280 x 720 (16:9) และความยาวสูงสุดของวีดีโอที่สามารถโพสต์ได้คือ 120 นาที ขนาดไฟล์วิดีโอสูงสุด 4 GB. 
  • Tag People: การโพสต์พร้อมแท็กเพื่อนในเฟสบุ๊ค เป็นการให้คนที่คุณแท็กมีส่วนร่วมกับการโพสต์ของคุณ เมื่อคุณแท็ก เขาจะได้รับการแจ้งเตือนการแท็กจากคุณด้วย ซึ่งโพสต์นั้นก็จะไปแสดงให้เพื่อนของคนที่ถูกแท็กเห็นโพสต์นั้นด้วยเช่นกัน
  • Feeling / Activity: การใส่ความรู้สึกในโพสต์ที่คุณกำลังจะโพสต์ เช่น แสดงความรู้สึกยินดี รู้สึกรัก หรือรู้สึกโกรธ เป็นต้น ส่วน Activity เป็นการแจ้งสถานะของกิจกรรมที่คุณกำลังทำอยู่ เช่น กำลังดูหนัง อ่านหนังสือ เป็นต้น (มีให้เลือกหลายความรู้สึกและหลายกิจกรรมเลยครับ)
  • Check In: การบอกและแสดงสถานที่ที่คุณอยู่หรือกำลังจะไป เช่น ร้านกาแฟร้านหนึ่ง สถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่ง เป็นต้น มักใช้เกี่ยวกับการเดินทาง การเช็คอินในเฟสบุ๊คจะหมายถึงการปักหมุดว่าเราได้มาสถานที่แห่งนี้แล้วนั่นเอง
  • พื้นหลังข้อความ: การโพสต์ข้อความสามารถเปลี่ยนสีพื้นหลังของข้อความที่จะโพสต์ได้ (ปกติจะแสดงเป็นสีขาว)โดยการเลือกพื้นหลังแบบต่าง ๆตรงแถบด้านล่าง แต่ถ้าข้อความที่จะโพสต์มีความยาวมาก พื้นหลังจะเปลี่ยนกลับไปเป็นสีขาวแบบอัตโนมัติเหมือนตอนแรก

การแก้ไขโพสต์เฟสบุ๊ค -> เมื่อโพสต์ไปแล้ว แต่อยากแก้ไขโพสต์นั้น ให้กดที่จุดสามจุด (…) มุมบนด้านขวาของโพสต์ที่เราต้องการจะแก้ไข ซึ่งสามารถแก้ไขหรือจัดการกับโพสต์นั้นได้ดังนี้

  • Pin Post: การปักหมุดโพสต์ ไม่ว่าเราจะโพสต์ไปเยอะมากแค่ไหน โพสต์ที่ถูกปักหมุดจะแสดงผลอยู่ข้างบนสุดเสมอ 
  • Save Post: การกดบันทึกโพสต์ โดยโพสต์ที่เรากดบันทึกจะไปอยู่ในหัวข้อ Saved ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถกลับไปอ่านโพสต์นั้นได้ในภายหลัง สามารถกดบันทึกหรือเซฟได้ทั้งโพสต์ของเราและโพสต์ของผู้ใช้งานคนอื่น
  • Edit Post: การแก้ไขโพสต์ที่เราได้โพสต์ไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการลดหรือเพิ่มความยาวของข้อความ แก้คำผิด หรือแก้ไขโพสต์ทั้งหมดเลยก็ได้
  • Edit Privacy: การแก้ไขความเป็นส่วนตัวของโพสต์นั้น ๆ เป็นการตั้งค่าว่าอยากให้ใครเห็นโพสต์ของเราได้บ้าง (ผมได้อธิบายเพิ่มเติมไว้ในหัวข้อถัดไป)
  • Move to trash: การย้ายโพสต์ของคุณไปยังถังขยะ หลังจากย้ายไปที่ถังขยะ โพสต์จะสามารถกู้กลับคืนมาได้ภายในระยะเวลา 30 วัน ถ้าเลยระยะเวลาที่กำหนดโพสต์จะถูกลบออกจากเฟสบุ๊คแบบถาวร
  • Turn off notifications for this post: เป็นการปิดการแจ้งเตือนสำหรับโพสต์นั้น ๆ เช่น คุณถูกเพื่อนแท็กรูปที่ถ่ายร่วมกัน 20 คน ทุกครั้งที่มีคนคอมเมนต์ในรูปนั้น เฟสบุ๊คจะมีการแจ้งเตือนให้คุณทราบทุกการคอมเมนต์ เมื่อเลือก Turn off notifications for this post ระบบก็จะไม่มีการแจ้งเตือนในโพสต์นั้น ๆ (คุณสามารถกำหนดระยะเวลาได้ เช่น 1 ชั่วโมง 1 วัน หรือตลอดเวลา)


3.การตั้งค่าความเป็นส่วนตัวบน Facebook

การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว หรือ Edit Privacy คุณสามารถกำหนดได้ว่า จะให้ใครเห็นเนื้อหาแต่ละส่วนที่คุณได้โพสต์ไปบ้าง ซึ่งการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวของการโพสต์ ทำได้ดังนี้

  • Public: โพสต์แบบสาธารณะ เป็นการแสดงให้ทุกคนสามารถเห็นและเข้าถึงโพสต์นั้น ๆของคุณได้ สามารถเข้ามาแสดงความคิดเห็น กดชื่นชอบ หรือแชร์โพสต์นั้น แม้จะไม่เคยส่งคำขอเป็นเพื่อนกับคุณมาก่อน (แม้จะไม่ได้เป็นเพื่อนกันในเฟสบุ๊ค) 
  • Friends : โดยปกติหรือค่าเริ่มต้นของเฟสบุ๊ค จะแสดงให้เฉพาะ Friends ได้เห็นการโพสต์ของคุณเท่านั้น คือ ต้องเป็นเพื่อนกันถึงจะเห็นโพสต์ของคุณได้นั่นเอง
  • Friends except : เป็นการกำหนดให้เพื่อนทุกคนเห็นโพสต์นี้ ยกเว้น…ให้เลือกคนที่คุณไม่อยากให้เห็นโพสต์นี้ (อารมณ์เหมือนมีความลับ ไม่อยากให้ใครคนหนึ่งได้เห็นโพสต์นี้)
  • Specific friends : เป็นการโพสต์ให้กับเพื่อนที่เราเลือกเฉพาะเจาะจง เพื่อนคนที่ถูกระบุเท่านั้นถึงจะเห็นโพสต์นี้ได้
  • Only me : เป็นการโพสต์ที่มีเพียงคุณเท่านั้นที่เห็น (โพสต์เก็บไว้ดูเองคนเดียว)


4.คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานเฟสบุ๊ค

เพื่อให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้งาน Facebook มากยิ่งขึ้น มาทำความรู้จักกับคำศัพท์ทั่วไปที่มักใช้บนแพลตฟอร์มนี้กันครับ

  • New Feed  (นิวฟีด) : ในหน้านิวฟีด (หรือหน้าแรก) คือหน้าที่แสดงผลโพสต์ทุกโพสต์ของเพื่อนในเฟสบุ๊คคุณ ซึ่งคุณจะได้เห็นความเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้คุณยังเห็นการอัปเดตจาก Page ธุรกิจที่คุณได้กด Like หรือกดติดตาม และเวลาที่คุณโพสต์ข้อความหรือรูปภาพของคุณเอง โพสต์นั้นก็จะไปปรากฏในหน้า New Feed ของเพื่อนคุณด้วยเช่นกัน 
  • Time Line (ไทม์ไลน์) : ไทม์ไลน์ (หน้าโปรไฟล์ของคุณ) คือหน้าที่เป็นของคุณโดยเฉพาะ จะแสดงการโพสต์ทั้งหมดที่คุณโพสต์หรือแชร์ และโพสต์ที่คุณถูกแท็ก หากเพื่อน ๆของคุณเข้ามาดูหน้าโปรไฟล์ก็จะแสดงไทม์ไลน์ทั้งหมดของคุณ ยกเว้นในกรณีที่ตั้งค่าความเป็นส่วนตัวเอาไว้ เช่น ตั้งค่าโพสต์นั้นเป็น Only me (ตามที่เราได้อธิบายในหัวข้อการตั้งค่าความเป็นส่วนตัว)
  • Status / Post (สถานะและโพสต์) : ทั้งสองคำสามารถใช้แทนกันได้ แต่คำว่า “Post หรือ โพสต์” เป็นคำที่เฟสบุ๊คใช้เพื่ออธิบายถึงสิ่งที่คุณโพสต์หรือแชร์ ทั้งในส่วนของข้อความ รูปภาพ วีดีโอ และการแชร์ตำแหน่งที่อยู่ (การโพสต์ประเภทต่าง ๆเราได้อธิบายไว้ในหัวข้อด้านบนแล้ว) แต่ “Status หรือ สเตตัส” มักใช้กับการพิมพ์ข้อความบางอย่างแล้วโพสต์ออกไป ที่มักเรียกกันว่า “ตั้งสเตตัส”
  • Friends (เพื่อน) : การเป็น Friend บนเฟสบุ๊คหมายถึง คนที่คุณส่งคำขอเป็นเพื่อนไปและเขาได้ยอมรับคำขอนั้นแล้ว หรือคนที่ส่งคำขอถึงคุณและคุณได้ยอมรับคำขอนั้นกลับแล้ว ในกรณีนี้จะต่างจาก Social Media อื่นที่อนุญาตให้ผู้อื่นมาสามารถติดตามคุณได้เลยโดยที่คุณไม่จำเป็นต้องติดตามพวกเขากลับ (บัญชี Facebook อนุญาตให้บัญชีส่วนบุคคลมีเพื่อนได้ไม่เกิน 5,000 คน)
  • Follower (ผู้ติดตาม) : ระบบจะกดติดตามให้อัตโนมัติเมื่อคุณได้เป็นเพื่อนกับคนที่ส่งคำขอเป็นเพื่อนไป หรือในกรณีที่คุณมีเพื่อนมากกว่า 5,000 คนจนไม่สามารถเพิ่มเพื่อนได้อีก ก็ต้องใช้วิธีให้กดติดตามกันแทน ซึ่งนี่เป็นวิธีที่ Facebook ช่วยให้เห็นความเคลื่อนไหวของเพื่อนบนหน้า New Feed ในกรณีที่ไม่อยากเห็นความเคลื่อนไหวของเพื่อนคนนั้น สามารถเลือกยกเลิกการติดตามแบบไม่ต้อง Unfriend (ยกเลิกการเป็นเพื่อน) กับบุคคลนั้นได้เช่นกัน โดยการไปที่หน้าโปรไฟล์ของเพื่อน คลิกคำว่า Friend จะแสดงแถบเมนูให้เรากด Unfollow

  • Group (กลุ่ม) : การที่ผู้ใช้งานเฟสบุ๊คมีความสนใจเรื่องบางอย่างเหมือนกัน ก็อาจสร้างกลุ่มบนเฟสบุ๊คขึ้นมา โดยคุณสามารถเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกกลุ่มได้ด้วยการส่งคำขอเข้าร่วมกลุ่มไป กลุ่มมักใช้พูดคุย ปรึกษา โต้ตอบกันในหัวข้อต่าง ๆที่เกี่ยวกับเรื่องที่สนใจนั้น ตัวอย่างเช่น กลุ่มโยกย้าย ส่ายสะโพกโยกย้าย (กลุ่มที่พูดถึงการย้ายประเทศ) กลุ่มงานบ้านที่รัก (พูดถึงการทำงานบ้าน) และอื่น ๆอีกมากมาย
  • Page (เพจ) : Facebook Page คือเครื่องมือที่ธุรกิจต่าง ๆใช้เพื่อสร้างตัวตนบนโซเชียลเน็ตเวิร์ก เพจไม่ใช่ผู้ใช้ Facebook รายบุคคล — ให้คิดว่าเป็นโปรไฟล์สำหรับการทำธุรกิจ Facebook Page จึงมีความสามารถในการเชื่อมต่อกับ Facebook  Business และสามารถใช้งาน Facebook Ads เพื่อทำการโฆษณาสินค้า ผลิตภัณฑ์ หรือบริการของพวกเขาได้ (มีค่าใช้จ่าย)
  • Messenger : เป็นการส่งข้อความพูดคุยโต้ตอบกันแบบส่วนตัวของ Facebook ผู้ใช้สามารถพูดคุยกันแบบตัวต่อตัว หรืออาจตั้งเป็นกลุ่มพูดคุยกันก็ได้ สำหรับการใช้งานบนโทรศัพท์มือถือ ผู้ใช้งานจะต้องโหลดแอปพลิเคชัน Messenger ก่อนการใช้งาน แต่สำหรับการใช้งานบนคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถส่งข้อความหากันได้เลย
  • Story (เรื่องราว) : Story เป็นอีกหนึ่งส่วนที่กำลังเป็นที่นิยมของผู้ใช้เฟสบุ๊คเพื่อโพสต์เรื่องราวต่าง ๆในแต่ละวัน ซึ่ง Story จะแสดงผลเป็นวีดีโอสั้น ๆไม่เกิน 15 วินาที โดยเราจะใส่เป็นคลิปหรือภาพนิ่งก็ได้ และเฟสบุ๊คจะแสดงผลให้ได้เห็นเพียง 24 ชั่วโมงเท่านั้นในหน้า New Feed หลังจาก 24 ชั่วโมง Story ต่าง ๆเหล่านั้นก็จะหายไปอัตโนมัติ

สรุป

Facebook ถือเป็นแอปพลิเคชันที่ทุกคนต้องมีเป็นของตัวเอง อาจสมัคร Facebook ไว้ใช้สำหรับติดต่อกับเพื่อน คนรู้จัก หรือบางคนสมัครเฟสบุ๊คไว้เป็นช่องทางในการหารายได้ เราจึงทำบทความนี้ให้เป็นมากกว่าการแนะนำขั้นตอนการสมัครเฟส แต่มันยังมีเนื้อหาทั้งเรื่องการโพสต์ การแก้ไขโพสต์ การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว และคำศัพท์สำคัญ ๆ ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจระบบและการทำงานของเฟสบุ๊คได้รวดเร็วยิ่งขึ้น 

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ